สารประกอบที่ผลิตได้ก่อนปี พ.ศ. 2505 ของ สารประกอบของแก๊สมีสกุล

คลาเทรต

สารประกอบคลาเทรต (en:Clathrate) เหล่านี้เกิดจากการที่อะตอมของแก๊สมีสกุลถูกดักจับอยู่ภายในช่องโหว่ของผลึกสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์บางชนิด เงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเกิดสารประกอบเหล่านี้คืออะตอมของแก๊สมีสกุลต้องมีขนาดที่เหมาะสมที่จะบรรจุในช่องโหว่ของผลึกนั้นได้ ตัวอย่างเช่น อาร์กอน คริปตอน และซีนอนสามารถเกิดสารประกอบคลาเทรตกับ β-quinol ได้ แต่ฮีเลียมและนีออนไม่สามารถถูกจับได้เพราะว่าขนาดของอะตอมเล็กเกินไป ซึ่งคลาเทรตเหล่านี้นำไปใช้ในการแยกฮีเลียมและนีออนออกจากอาร์กอน คริปตอน และซีนอนได้ รวมทั้งสารประกอบคลาเทรตของคริปตอน-85 เป็นแหล่งรังสีบีตาที่ปลอดภัย ในขณะที่สารประกอบคลาเทรตของซีนอน-133 เป็นแหล่งที่ปลอดภัยในการให้รังสีแกมมา

สารประกอบโคออร์ดิเนชัน

สารประกอบโคออร์ดิเนชันของแก๊สมีสกุลเช่น Ar·BF3 ได้ถูกสมมติว่ามีจริงที่อุณหภูมิต่ำ แต่ยังไม่เคยมีการพิสูจน์แต่อย่างใด ส่วนสารประกอบ WHe2 และ HgHe2 ก็ได้มีการรายงานว่ามีการสร้างขึ้นโดยการ electron bombardment แต่งานวิจัยล่าสุดนั้นชี้ให้เห็นว่าอะตอมของฮีเลียมอาจถูกดูดซับไว้พนผิวของโลหะ นั่นหมายความว่าสารประกอบเหล่านี้จึงไม่อาจเรียกว่าเป็นสารประกอบที่แท้จริง

สารประกอบไฮเดรต

สารประกอบนี้สามารถเตรียมได้โดยการอัดแก๊สมีสกุลในน้ำ ซึ่งเชื่อกันว่าโมเลกุลของน้ำซึ่งมีสภาพขั้วแรงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสภาพขั้วอย่างอ่อนภายในอะตอมของแก๊สมีสกุล ส่งผลให้เกิดแรงไดโพลซึ่งกันและกัน อะตอมที่หนักกว่าจะถูกเหนี่ยวนำได้ง่ายกว่าอะตอมแก๊สมีสกุลประเภทธาตุเบา ดังนั้น Xe·6H2O จึงเป็นสารประกอบไฮเดรตที่มีเสถียรภาพสูงสุด แต่ทว่าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานั้นได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของสารประกอบเหล่านี้

ใกล้เคียง

สารประกอบโคออร์ดิเนชัน สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบ สารประกอบอะลิฟาติก สารประกอบของแก๊สมีสกุล สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบไอออนิก สารประกอบออร์กาโนฟอสฟอรัส สารปรอท สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก